วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนเลขานุการ วิชาบุคลิกภาพการเป็นเลขานุการ

วิชาบุคลิกภาพการเป็นเลขานุการ




                         ความหมายของบุคลิกภาพ

                บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Personality มาจากคำศัพท์ภาษาลาตินว่า Persona หมายถึงหน้ากากที่ตัวละครสวมใส่เวลาเล่นละคร ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีบทบาทไปตามหน้ากากที่สวมใส่ แต่ในชีวิตประจำวันบุคลิกภาพของบุคคลมักจะมองในแง่ของคุณลักษณะทั่ว ๆ ไปของบุคคลนั้น มุ่งไปในทางคุณลักษณะทางกายและทางใจ แต่นักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของบุคลิกภาพไว้หลายทัศนะด้วยกันเช่น
                มอร์แกน (Morgan) กล่าวว่า บุคลิกภาพหมายถึง คุณสมบัติและคุณลักษณะเด่นของบุคคลรวมถึงการปรับตัวของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
                ฮิลการ์ด (Hilgard) กล่าวว่า บุคลิกภาพหมายถึง ลักษณะรวม ๆ ของบุคคลและวิธีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งกำหนดการปรับตัวตามแบบฉบับของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม
                 ชวนพิศ ทองทวี ได้ให้ความหมายไว้ว่า บุคลิกภาพหมายถึง ลักษณะต่าง ๆ ของบุคคลทั้งภายในและภายนอก ที่จะช่วยในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและแสดงลักษณะที่เป็นเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล
                 จากคำนิยามทั้งหมดที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่า บุคลิกภาพ (Personality) หมายถึง พฤติกรรมรวมของบุคคลซึ่งมีลักษณะเฉพาะคน ๆ หนึ่ง พฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมาเป็นการปรับตัวของบุคคล



บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

                1. บุคลิกภาพภายนอก หมายถึง สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากสภาพภายนอกของคนและสามารถที่จะปรับปรุงได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก ได้แก่ รูปร่างหน้าตา สุขภาพ การแต่งกาย กิริยาท่าทาง การแสดงทางสีหน้าและแววตา การพูดจา 
                2. บุคลิกภาพภายใน หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายในใจหรืออุปนิสัยใจคอ ซึ่งมองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ เป็นความรู้สึกนึกคิด

องค์ประกอบของบุคลิกภาพ 
                บุคลิกภาพประกอบด้วยลักษณะหลายประการ บางอย่างก็สามารถสังเกตเห็นได้ แต่บางอย่างก็ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ สิ่งที่ประกอบเป็นบุคลิกภาพได้แก่ 
               1. รูปร่างหน้าตา (Body) ได้แก่ ความสูง เตี้ย อ้วน ผม สีของผิว สิ่งเหล่านี้มีอิทธิผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลของแต่ละบุคคลกับสิ่งแวดล้อม 
ซึjงแสสดงออกถึงสภภาพอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด โลก ความเฉลียวฉลาด ความเชื่อมั่นในตนเอง กิริยาท่าทาง การแต่งกาย ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองและบุคคลอื่น 
               2. ความสามารถ (Ability) หมายถึง ขีดจำกัดของลักษณะทางกายภาพที่มีในแต่ละบุคคลในการที่จะทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้ามีมาแต่กำเนิดเรียกว่า ความถนัดตามธรรมชาติ หรือพรสวรรค์ เช่นมีความสามารถในด้านกีฬา ดนตรี ศิปละ 
               3. ความคล่องแคล่งว่องไว (Mobility) เกี่ยวข้องกับอวัยวะกล้ามเนื้อที่มีส่วนในการเคลื่อนไหว การทำงานประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท ผู้ที่มีประสาทไว มักจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้เร็ว และเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมปรับตัวได้เร็ว และได้รับยกย่องนับถือจากบุคคลอื่น 
               4. สติปัญญา (Intelligence) หมายถึงความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ เป็นการประสมประสานของประสบการณ์เดิม ได้แก่ ความจำ การเรียนรู้ ความเข้าใจ การสังเกต การวางแผนการทำงาน การมีวิจารณญาณในการทำงาน สติปัญญาทำหน้าที่เป็นผู้แสดงบทบาทของบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล    
               5. การแสดงตน (Self Expression) คนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันเมื่อเขาได้แสดงออกโดยเสรีทางความคิด ความต้องการและอารมณ์บางคนชอบแสดงตนออกอย่างเปิดเผย ในขณะที่บางคนพยายามควบคุมอารมณ์ของตนเอง บางคนคิดมากกว่าลงมือทำ แต่บางคนทำมากกว่าคิด การแสดงออกของคนมักมี 2 ลักษณะคือ พวกชอบแสดงตัว (Extroversion) และพวกชอบเก็บตัว (Introversion) อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าบุคคลที่ชอบออกความคิดเห็นชอบการแสดงตัวมักมีความต้องการเอาชนะสูงและเป็นที่รู้จักกันในสังคมมากกว่าผู้ที่ชอบเก็บตัว 



ลักษณะของคนที่มีบุคลิกภาพดี

     1. สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ 
     2. ท่าทางสง่า กระฉับกระเฉง 
     3. สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือเข้ากับผู้อื่นได้ดีในทุกกาลเทศะ 
     4. มีอารมณ์ขัน ร่าเริงในโอกาสอันสมควร 
     5. เป็นคนมีเหตุผล ละเอียดรอบคอบ 
     6. มีความอดทนและมีกำลังใจ กล้าในการเผชิญกับภาวะคับขันหรืออุปสรรคต่าง ๆ 
     7. มองโลกในแง่ดี 
     8. มีความเป็นตัวของตัวเอง กล้าคิด กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ตนเห็นว่าได้พิจารณาโดยละเอียดรอบคอบ 
     9. ยอมรับความเป็นจริงที่ได้พิสูจน์แล้ว แม้สิ่งนั้น ๆ จะขัดกับความเชื่อหรือความเห็นดั้งเดิม



บุคลิกภาพของคนในองค์การ

                 เลขานุการต้องทำงานกับบุคคลในองค์การ ฉะนั้นเลขานุการจะต้องเรียนรู้ถึงบุคลิกและอุปนิสัยของคนในองค์ดังต่อไปนี้ 
                 1. คนพูดตรงไปตรงมา เป็นพวกไม่ดัดจริต ไม่มีอะไรมาปิดบัง ซื่อสัตย์ ทำงานจริงจัง มีความจริงใจสูง อาจจะพูดไม่ไพเราะ แต่มีจิตใจที่ดี 
                 2. คนเสียสละ เกิดอะไรขึ้นจะรับผิดชอบ และอาจจะรับอะไรเร็วไป จนบางครั้งเป็นผลเสียแก่ตัวเอง คนประเภทนี้ ทำงานด้วยก็สบายใจ ไม่เอาเปรียบใคร มีแต่ให้มากกว่ารับ 
                 3. คนหน้าตาย เก็บกด อาจจะด่าอะไรนายลับหลัง จึงเป็นคนน่ากลัวที่จะทำงานด้วย 
                 4. คนไม่กล้าขัดใจใคร มักจะเห็นด้วยเกือบทุกเรื่อง เวลาทำงานกับพวกนี้ จะต้องกล้าแสดงความคิดเห็นเพื่อเขาจะได้สบายใจ 
                 5. คนพูดมาก เริ่มนุ่มนวล ใช้คำพูดซ้ำ ๆ จึงควรใส่ใจ หรือพยายามเข้าใจว่าเขาต้องการพูดเรื่องอะไร หากอยากให้งานสำเร็จก็ต้องบอกเป้าหมายเพื่อเขาจะได้ทำได้             
                6. คนมองโลกในแง่ร้าย มักจะชอบค้านอยู่เรื่อย อาจจะมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล ใครทำงานด้วยอาจหมดกำลังใจ แต่ก็ต้องทำใจด้วยการใช้อภัย 
                7. คนชอบทำลาย พวกนี้อยากเห็นความเสียหายของผู้อื่น เช่น แกล้งขโมยเอกสารบ้าง หรือรับโทรศัพท์ก็ไม่บอก หากทำงานด้วยต้องยอมรับว่าเขาอาจร้างได้ทุกเมื่อ เป็นหน้าที่ของนายต้องคาดโทษ หากทำให้บริษัทหรือหน่วยงานเสียหาย 
                8. คนไม่พูดไม่แสดง จะเก็บลิ้นเก็บฟันไม่พูดอะไร ไม่ชอบยุ่งกับใคร ไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เข้าทำนองขอปลอดภัยไว้ก่อน งานจะไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เพราะไม่กล้าทั้งติและชม ทำให้ไม่มีความคิดริเริ่มหรือคิดปรับปรุงอะไร ถือว่า การไม่พูดไม่มีเรื่องราวกับใคร การไม่มีความผิด งานจะได้ผลก็คือ มอบงานให้ทำพร้อมกับบอกรายละเอียดว่าต้องรายงานกลับมาเรื่องอะไรบ้าง พร้อมกับวันเวลาที่ต้องทำให้เสร็จ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น