วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนเลขานุการ วิชามารยาทและการสมาคม


วิชามารยาทและการสมาคม


ความหมายและความสำคัญของมารยาทและการสมาคม

          มารยาท คือ การแสดงออกทางกิริยา วาจา และเป็นที่ยอมรับของสังคมว่าถูกต้อง ดีงาม น่าเชื่อถือ
การสมาคม คือ การรวมกลุ่มของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน หรือมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน
          มารยาทในการสมาคม หมายถึง พฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกทางกาย ทางวาจาที่สุภาพเรียบร้อยดีงาม เหมาะสมกับกาละเทศะและเป็นที่ยอมรับของสังคมมนุษสัมพันธ์และการสร้างมนุษสัมพันธ์มนุษสัมพันธ์ คือ การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีของบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การดำรงชีวิตร่วมกันอย่างราบรื่น ตลอดจนสามารถทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ทุกฝ่ายได้รับความพึงพอใจ



การปรับปรุงบุคลิกภาพ

          (1) ด้านร่างกาย ให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี โดยยึดหลัก 5 อ.มีดังนี้
อาหาร รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามที่ร่างกายต้องการ พิจารณาว่าส่วนใดจะเพิ่มหรือลด
ควรเสริมส่วนได้ ลดส่วนใด ร่างกายจะได้แข็งแรงและสมส่วนตามวัยอากาศ สูดอากาศบริสุทธิ์ในตอนเช้ามืด เช่น ตามชายทะเล ป่าเขา หรือสถานที่ที่คนไม่พลุกพล่านออกกำลังกาย ทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เส้นเอ็น เลือดลม ทุกส่วนของร่างกายได้เคลื่อนไหวจะได้ไม่มีการเจ็บปวด ขัดยอก ตึง แน่น ปวดเมื่อย ตามร่างกาย
อารมณ์ ฝึกตนให้เป็นบุคคลอารมณ์ดี จิตใจเบิกบานแจ่มใสมีความสุข หน้าตาจะได้สดใสไปด้วยอุจจาระ ฝึกตนให้ขับถ่ายทุกวันไม่ท้องผูก จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย
          (2) ด้านนิสัย ฝึกนิสัยให้เป็นคนมีความมั่นใจ มีความกระตือรือร้นใฝ่รู้ มุมานะพยายาม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ช่วยเหลือและให้อภัยแก้ผู้อื่นเสมอ
          (3) ด้านสังคม ได้แก่ การแต่งกายให้เหมาะสมกับวัย ผิวพรรณ กาลเทศะ และสภาพฐานะจองตนเป็นผู้ฟังที่ดี สนใจและให้เกียรติกับผู้ที่สนทนาด้วย
          (4) ด้านการรู้จักตนเอง การยอมรับความจริงไม่เข้าข้างตนเอง เปิดโอกาสให้คนใกล้ชิดชี้จุดบกพร่องต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางที่จะสามารถนำข้อบกพร่องมาแก้ไขลักษณะบุคลิกภาพที่ดีแต่งกายประณีต เหมาะสมกับวัย และกาลเทศะ



ความหมายและความสำคัญของมารยาทในการแต่งกาย

           มารยาทในการแต่งกาย คือ ความคิดเกี่ยวกับการแต่งกายทั้งของเดิมที่มีมาในอดีตและของสังคมตะวันตกที่คนไทยรับมาปฏิบัติความถูกต้องอยู่ที่ต้องรู้จักและเลือกแสดงให้เหมาะสมแก่กาลเทศะและบุคคล     โดยคำนึงถึงโอกาสและกิจกรรมเป็นหลักเกณฑ์
           สำหรับผู้ชาย   สูทชายเป็นเสื้อผ้าโอกาสปกติ นิยมให้เสื้อและกางเกงเป็นผ้าอย่างเดียวกันและสีเดียวกัน ถ้าจะเป็นผ้าลวดลาย ลวดลายนั้นเกิดจากการทอในเนื้อผ้าเป็นแบบอนุรักษ์นิยม ถ้าใครนำกางเกงสีเทาอ่อนมาสวมกับเสื้อสีกรมท่าไม่ใช่สวมสูท แต่เป็นการแต่งกายลำลอง  การสวมกางเกงใช้ผ้ามีลวดลาย สวมเสื้อผ้าเรียบก็ได้ เป็นการใช้เสื้อผ้าอย่างไม่เข้าชุด อนุโลมว่าเป็นการแต่งกายในโอกาสลำลอง
           สำหรับผู้หญิง  ความสุภาพในการแต่งกายต่างไปจากผู้ชาย เพราะเครื่องแต่งกายของผู้หญิงมีหลากหลายว่า ความสุภาพ และความไม่สุภาพอาจอยู่ที่แบบเสื้อและลวดลายหรือแม้แต่ทรงผม การใช้เครื่องสำอางแต่งหน้าตา ความคับความหลวมของเสื้อ ความสั้นความยางของกระโปรง แบบของรองเท้าและกระเป๋าถือ



การแต่งกายไปติดต่อธุรกิจ

         การแต่งกาย  ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายร่างกายต้องมีความสะอาดหมดจด ชายควรโกนหนวดให้เรียบร้อย ผมหวีให้เข้าที ไม่ยุ่งเหยิง เล็บสะอาด ฟันสะอาด เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ว่าเจ้าของดูแลเอาใจใส่ต่อร่างกายของตัวเอง เพื่อสร้างความเชื่อถือกับผู้ที่เราติดต่อด้วย
         เสื้อผ้าของผู้ชาย   ควรสวมสูทสากล หรือเสื้อเชิ้ตสีขาว หรือสีอ่อนๆ ผูกเนตไทให้เข้าที่ คอเสื้อ ปกเสื้อ แขนเสื้อ ให้เรียบร้อย
         เสื้อผ้าของผู้หญิง  ในการติดต่อธุรกิจปัจจุบันสวมเสื้อทำนองสูท แต่ไม่เข้มงวดขึงขังเหมือนผู้ชาย เพราะให้ผ้าเบาบางกว่า หลากสี สวยงามกว่า อาจใส่สีตัดกันหรือสีระหว่างกระโปรงกับเสื้อที่เข้ากันได้ ถ้าไม่สวมสูทอาจเป็นชุดเรียบร้อยดูสภาพ ต้องระวังใช้ผ้าและแบบผ้าบางเบา เช่น ชีฟอง หรือมีระบายฟู่ฟ่า กระโปรงย้วย บานลากพื้น อาจเหมาะสมในโอกาสอื่นแต่ไม่ใช่ติดต่อธุรกิจ




ข้อปฏิบัติในการแต่งกายโดยสรุป

 มีข้อปฏิบัติ   9  ประการ คือ
     1.ต้องรู้ให้แน่นอนว่าเราจะไปงานอะไร
     2.ต้องประเมินให้ทราบว่า งานนั้นมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน
     3.ควรทราบว่างานที่ตนจะไปร่วมนั้น เขานิยมแต่งกายแบบไหน งานบางแห่งเจ้าภาพจะระบุไว้ชัดเจนว่าแต่งกายตามสบาย
     4.ควรแต่งกายให้ถูกเวลาของงาน
     5.ควรรำลึกถึงความเหมาะสมของวัยอายุ ผู้สูงอายุควรแต่งกายให้งามสง่า สมวัย ไม่ควรแต่งตามสมัยนิยม
     6.ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสถานภาพและบทบาทของตน ไม่มากหรือน้อยเกินไป
     7.การเลือกเครื่องแต่งกายควรคำนึงถึงสิ่งของเสื้อผ้ากับผิวพรรณผู้สวมใส่ด้วย รวมทั้งเครื่องประดับ ตกแต่งไม่ควรมากเกินไป
     8.ควรแต่งกายให้สุภาพตามยุคสมัยนิยมอย่างเหมาะสม ไม่ควรแต่งกานที่ล้ำสมัยหรือล้าสมัยจนเกินไป 
     9.ควรแต่งกายโดยให้เกียติกับเจ้าภาพที่เชิญไปร่วมพิธี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น