วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนเลขานุการ วิชาพิมพ์ดีดไทยเบื้องต้น

วิชาพิมพ์ดีดไทยเบื้องต้น



การพิมพ์สัมผัสด้วยคอมพิวเตอร์

 ความสำคัญและความเป็นมา

        การพิมพ์สัมผัสเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำงานบนคอมพิวเตอร์
เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์กลายเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของสำนักงานและสถานศึกษาทั่วไป
        ดังนั้น  ทักษะการพิมพ์สัมผัสบนคอมพิวเตอร์  จึงเป็นทักษะที่ทุกคนในสมัยนี้ยากจะปฏิเสธได้
และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองด้านการพิมพ์ได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา ครูจึงจัดทำไซต์อย่างง่ายๆนี้ขึ้นมา นักเรียนจะได้หมั่นฝึกฝน และฝึกพิมพ์อยู่เสมอ

แบบฝึกหัด 1.1



สาเหตุและความสำคัญของปัญหา
           
           ในปัจจุบันจะกล่าวได้ว่าทุกบริษัท หน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษาต่างๆ ต้องมีการติดต่อสื่อสารกันทุกที่  และด้วยความเจริญของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์  ปัจจุบันจึงได้มีหลายบริษัทผลิตโปรแกรมด้านสิ่งพิมพ์หลายบริษัท อาทิเช่น บริษัท Microsoft ได้ผลิตโปรแกรม Microsoft Wordออกมาเป็นทางเลือกให้พนักงาน Office ได้เลือกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้องใช้การพิมพ์สัมผัสเพื่อป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์สร้างชิ้นงานที่ต้องการ  และหากนักเรียนคนใดมีทักษะการพิมพ์สัมผัสไม่คล่องอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ด้านสื่อสิ่งพิมพ์หรือโปรแกรมอื่นๆได้และปัจจุบันนักเรียนโรงเรียนสามพรานวิทยาส่วนมากมีปัญหาในการพิมพ์สัมผัสโดยวางนิ้วไม่ตรงแป้นที่จะต้องวาง ดูแป้นหรือข้อความบนกระดาษ พิมพ์ผิดมาก พิมพ์ช้า และไม่สามารถพัฒนาความเร็วได้ตามเกณฑ์ที่ครูต้องการและด้วยสาเหตุนี้เองนักเรียนจึงควรฝึกทักษะการพิมพ์สัมผัสด้วยการนำหลักการทำสมาธิมาปรับพฤติกรรมดังกล่าวโดยมีหลักว่าผู้เรียนจะต้องรู้จักควบคุมตนเองในขณะที่ฝึกพิมพ์  ซึ่งมีขั้นตอนการปรับพฤติกรรม ดังนี้
       1. ฝึกตนเองให้จิตใจเกิดความสงบ คือไม่สนใจสิ่งรอบข้าง และมีสมาธิและพิจารณาเฉพาะตัวอักษรที่อยู่บนแผนบนกระดาษ แล้วฟังเสียงของครูที่สั่งให้พิมพ์เท่านั้น
     2. ฝึกให้จิตใจปราศจากอคติ มีความอดทน คือมีความเชื่อมั่นในตนเองว่าการใช้นิ้วที่ผิดจะทำให้ไม่สามารถพัฒนาทักษะการพิมพ์สัมผัสได้  โดยนักเรียนจะต้องพยายามใช้นิ้วที่ถูกต้องเคาะแป้นรวมทั้งการรอ  ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้  ความสามารถในการวางนิ้วหรือก้าวนิ้วไปสัมผัสแป้นอักษรของตนเองอย่างไม่รีบร้อน  รวมทั้งการฝึกใช้นิ้วที่อ่อนแอ  เช่น นิ้วนาง นิ้วก้อย และนิ้วโป้ง ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
      3. สามารถรู้เท่าทันตนเอง คือรู้ว่าในขณะที่ตนเองเคาะแป้นพิมพ์นั้น กำลังใช้นิ้วอะไรและเป็นนิ้วที่ถูกต้อง  และพิมพ์โดยไม่ต้องมองแป้น  ส่วนตาดูที่แผนภาพตัวแบบพิมพ์เท่านั้น
    4. รู้จักระงับความโกรธ คือไม่โมโหหรือโกรธตนเองเมื่อใช้นิ้วเคาะแป้นพิมพ์ผิด  และไม่โกรธ เมื่อพิมพ์ไม่ทันหรือช้ากว่าคนอื่น

ความหมายของแป้นเหย้า และการวางมือบนแป้นเหย้า

แป้นเหย้า

            แป้นเหย้า(Home-Row  Keys) คือ แป้นอักษรเริ่มต้นหรือแป้นหลักที่ใช้ในการพิมพ์โดยจะต้องวาง  นิ้วที่แป้นเหย้าก่อนการพิมพ์ทุกครั้ง  กล่าวคือ  ไม่ว่าเราจะพิมพ์ไปในทิศทางใดก็ตาม  เราต้องกลับมาวางนิ้วที่แป้นเหย้าเสมอ  เปรียบเสมือนว่าแป้นเหย้าเป้นจุดเริ่มต้นของเส้นทางทุกเส้นทาง  ไม่ว่าจะไปทางไหนต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้นเดียวกัน  แป้นเหย้ามีตำแหน่งอยู่บนแถวที่ 2 นับจากแถวล่างสุดของแป้นพิมพ์ (Keyboard) แป้นเหย้า ได้แก่ แป้นอักษร ฟ ห ก ด ' า ส ว ผู้เรียนจะต้องจดจำแป้นเหย้าให้แม่นยำเพื่อนำไปสู่การพิมพ์แป้นอักษรอื่น ๆ ต่อไป


แป้นเหย้า (Home Keys)


ฟ ห ก ด ่ า ส ว
แป้นเหย้า คือ แป้นอักษรแถวที่ 2 นับจากแถวล่าง แป้นเหย้าเปรียบเสมือนบ้านหรือที่พักนิ้วในระหว่างการพิมพ์ การสืบนิ้วไปยังอักษรใดก็ตาม ให้รีบสืบนิ้วกลับมาไว้ที่แป้นเหย้าโดยเร็ว 
ผู้เรียนจะต้องพยายามฝึกพิมพ์อักษรแป้นเหย้าให้เกิดความชำนาญ โดยวิธีพิมพ์สัมผัส พร้อมทั้งฝึกเคาะคานเว้นวรรคให้ถูกต้อง

การวางนิ้วบนแป้นเหย้า







รู้จักนิ้วดัชนี


            นักเรียนรู้ไหมว่า แป้นดัชนี(Index)เป็นแป้นที่ใช้บอก
    ตำแหน่งเริ่มต้นในการวางนิ้วบนแป้นเหย้า บนแป้นดัชนี ด   ่ จะมี
    สัญลักษณ์รูป – (Dash)ซึ่งมีลักษณะนูนกำกับอยู่บนแป้นพิมพ์
        
            และจะทำให้นักเรียนทราบว่าควรวางนิ้วอย่างไร จึงจะถูกต้อง
    เมื่อเราวางนิ้วบนแป้นเหย้า และแป้นดัชนีได้ถูกต้อง  แล้วก็เป็นเรื่องง่าย
    ที่จะก้าวนิ้วไปตามแป้นอักษร สระ และวรรณยุกต์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง





แบบฝึกหัด1.2




`พิมพ์ดีดไทยหน่วยที่ 1
ลักษณะและรูปแบบของแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ภาษาไทย

 แป้นพิมพ์ หรือคีย์บอร์ด   

     ความหมายของแป้นพิมพ์ หรือคีย์บอร์ด
              แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่เชื่อม  ความ  สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่หน่วยประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์ ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่จะประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ที่ถูกฉาบด้วยหมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อถูกกดจนติดกันก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจร เมื่อผู้ใช้กดแป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส (Scan Code) กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กด เพื่อเปลี่ยนให้เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ไปแสดงบนจอภาพ 




ความรู้พื้นฐานในการเรียนพิมพ์ดีด

1.ประวัติและความวิวัฒนาการของเครื่องพิมพ์ดีด

          ปี ค.ศ. 1714 เฮนรี่ มิลล์ ชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่คิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดขึ้น หลังจากนั้นเครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกของโลกถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1808 ต่อมา ปี ค.ศ. 1876 คริสโตเฟอร์ -ลาทัม ชูลส์
         นักหนังสือพิมพ์ชาวมิลวอกี ประเทศสหรัฐอเมริกา คิดจะสร้างเครื่องพิมพ์เลขหน้าหนังสืออัตโนมัติ เขาขยายความคิดออกไปจากแค่พิมพ์เลขหน้าเป็นพิมพ์ตัวอักษรด้วย และต่อมา “ชูลส์” ขายลิขสิทธิ์การผลิต
เครื่องพิมพ์ดีดนี้ให้กับบริษัทเรมิงตัน
          ต่อมา ปี พ.ศ. 2419 เครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก เอดวิน แมคฟาแลนด์ ได้คิดค้นและดัดแปลงจากเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษมาเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย และได้นำ
เครื่องพิมพ์ดีดกลับมาเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2435 เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยปัจจุบันมีใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ แบบเกษมณี เป็นแบบที่นิยมใช้และปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดที่ใช้กันอยู่เป็นแบบเกษมณี กับอีกแบบหนึ่งคือแบบโชติ เป็นแบบที่ไม่แพร่หลายนัก


2. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ดีด
      1. แผงนำกระดาษ (Paper Guide)
      2. ปุ่มกั้นระยะซ้ายขวา (Left & Right Margin )
      3. ก้านคลายกระดาษ (Paper Rclease Lever)
      4. ปุ่มลูกบิดซ้าย - ขวา (Left & Right Cylinder knob)
      5. คานทับกระดาษ (Peper Holding Bar)
      6. ปุ่มตั้งระยะหรือปุ่ม Tab + (Tabulato Setting)
      7. ปุ่มตั้งระยะหรือปุ่ม Tab - (Tabulato Setting)
      8. คานเว้นวรรค (Space Bar)
      9. ก้านปัดแคร่ (Carriage Return Lever)
     10. ระยะบรรทัด (Line Spacer)
     11. ก้านรับผ้าหมึกพิมพ์ (Ribbon Adjuster)

3.การสร้างเทคนิคที่ดีในการพิมพ์ดีด
      1. ท่านั่งพิมพ์ดีด
      2. การใส่กระดาษและการถอดกระดาษออกจากเครื่องฯ
      3. การตั้งระยะกั้นหน้า – กั้นหลัง
      4. การวางนิ้ว การเคาะแป้นอักษร และการสืบนิ้ว
      5. การวางแบบพิมพ์

4.กิจนิสัยที่ดีในการเรียนพิมพ์ดีด
      1. การพับผ้าคลุมเครื่องฯ
      2. การพิมพ์ทบทวน
      3. การตรวจทาน
      4. เตรียมอุปกรณ์การพิมพ์ดีดให้พร้อม
      5. การลบแก้ไขคำผิด
      6. การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดีด

5.การแก้ไขเครื่องพิมพ์ดีดอย่างง่าย
     1. อาการขัดข้องที่เกิดจากการทำงานของระบบผ้าหมึก
     2. อาการขัดข้องที่เกิดจากก้านพิมพ์ดีดค้าง ฝืด หรือหนัก
     3. อาการขัดข้องที่เกิดจากสายพานขาดหรือหลุด
     4. การเปลี่ยนผ้าหมึกพิมพ์ดีด

พิมพ์ดีดไทย

ความรู้เบื้องต้นในการพิมพ์สัมผัส

พิมพ์ดีดไทยหน่วยที่ 2

สำหรับการวางนิ้ว  การสืบนิ้ว  การเคาะแป้นวรรค  การยกแคร่  การย่อหน้าใหม่  
การขึ้นบรรทัดใหม่  การลบคำผิด  และสลับภาษา  สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่นักเรียน
จะมองข้ามไปไม่ได้เป็นอันขาด  เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญมากในการฝึกพิมพ์  ค่ะ


ความรู้เบื้องต้นในการพิมพ์ดีด (พิมพ์สัมผัส)
ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นในการพิมพ์ดีด

            สำหรับนักเรียนที่เพิ่งจะเริ่มต้นพิมพ์ดีดต้องเน้นการพิมพ์ให้ถูกต้องก่อน ยังไม่ต้องเน้นที่จะพิมพ์ให้รวดเร็ว เมื่อพิมพ์ได้ถูกต้องก็จะเกิดความช านาญ เมื่อช านาญแล้วก็จะเกิดความเร็วในการพิมพ์ดีดมาเองเพราะการพิมพ์เร็วแต่เต็มไปด้วยค าผิดย่อมไม่ท าให้เกิดประโยชน์ใดๆ การพิมพ์สัมผัสต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ซึ่งการฝึกเรียนพิมพ์ดีดหัวใจจะอยู่ที่นิ้วมือเป็นหลัก เมื่อเริ่มฝึกพิมพ์ให้จดจำแป้นอักษรทีละนิ้ว ไม่ต้องกังวลกับแป้นตัวอักษรอื่นที่ยังไม่ได้เรียน สำหรับ
ดวงตาก็มีความสำคัญไม่แตกต่างกับนิ้วมือ ฉะนั้นอย่าฝืนใช้สายตาเพ่งมองไปยังแบบฝึกพิมพ์ที่มีตัวอักษรไม่ชัดเจน
            การฝึกพิมพ์คำแรกๆ ถ้าคำที่ฝึกพิมพ์เป็นคำยาก นักเรียนต้องตั้งใจฝึกพิมพ์คำนั้นซ้ำๆ กันหลายๆ
ครั้ง หมั่นเพียรพยายาม อดทนและนักเรียนจะประสบความสำเร็จประวัติความเป็นมาของเครื่องพิมพ์ดีดต่างประเทศ
           เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกเป็นภาษาอังกฤษ จดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อ พ.ศ. 2237 ณ ประเทศอังกฤษโดยวิศวกร ชื่อเฮนรี่ มิล โดยใช้ชื่อว่า Writing Machine ส่วนในยุโรปมีนักประดิษฐ์ทำเครื่องพิมพ์ดีดออกมาจำหน่ายหลายยี่ห้อ เช่น ในเยอรมนีมีโอลิมเปีย แอดเลอร์ ออบติม่า ในอิตาลีมีโอลิวิตตี้ ในฮอลแลนด์มีเฮร์เมส เป็นต้น  ประเทศไทย นายเอดวิน แมคฟาร์แลนด์ เลขานุการส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระยาด ารงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการเดินทางไปสหรัฐอเมริกา มีแนวความคิดที่จะดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษให้เป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย แต่เนื่องจากภาษาไทยมีสระและวรรณยุกต์มาก ต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีดที่มีแป้นอักษรมากกว่าชนิดอื่นๆ ในที่สุดก็เลือกได้คือ ยี่ห้อสมิทฟรีเมียร์จนมาถึงในปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดได้ถูกพัฒนาให้ถูกก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งสามารถพิมพ์ได้เร็วขึ้น มีจำนวนหน้าต่อครั้งในการพิมพ์มากขึ้น มีน้ำหนักเบา พกพาง่าย เนื่องจากได้นำเครื่องไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และโน้ตบุ๊คเข้ามาช่วยให้เกิดความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น

 ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้นในการพิมพ์ดีด
       1. การพิมพ์สัมผัส ตาต้องมองที่แบบฝึกพิมพ์เท่านั้น อย่ามองที่นิ้ว แป้นอักษร หรือกระดาษพิมพ์
เป็นอันขาด
       2.ขณะที่พิมพ์อย่าหันไปหันมา ควรตั้งสมาธิก่อนฝึกพิมพ์
       3.เวลาพิมพ์อย่าใจร้อน หรือโมโหฉุนเฉียว
       4. ให้ฝึกพิมพ์ด้วยอารมณ์ที่กระฉับกระเฉง
       5. วางแผนก่อนฝึกพิมพ์ ให้ผู้ฝึกพิจารณาถึงเวลาที่เหมาะสมในการเรียนไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป
       6. มีความสนใจและท่องจำตัวอักษรที่จะฝึกพิมพ์ก่อน เมื่อเริ่มฝึกพิมพ์จะได้จดจำตัวอักษรได้อย่าง
แม่นยำ
       7. เมื่อเริ่มเรียนไม่ต้องกังวลว่าต้องพิมพ์ถูกหมดทุกตัว
การสร้างทักษะที่ดีในการพิมพ์ดีด
         การฝึกทักษะเบื้องต้นในการพิมพ์มีความสำคัญมาก ผู้ฝึกพิมพ์จะต้องทราบถึงรายละเอียดต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องก่อน การสร้างทักษะในการพิมพ์ดีดนักเรียนควรหมั่นฝึกฝนพิมพ์อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้มี

พัฒนาการที่เร็วขึ้น ฉะนั้นปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยสร้างทักษะในการพิมพ์มีดังนี้
       1. ควรศึกษาการใช้งานเครื่องพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องก่อนการใช้งานจริง
       2. ดูแลรักษาร่างกายให้อยู่ในอาการผ่อนคลายตามสบาย ไม่เกร็ง
       3. ก่อนที่จะฝึกพิมพ์ ควรสำรวจท่านั่งพิมพ์ของตนเองว่าถูกต้องหรือไม่
       4. ฝึกการวางนิ้ว โดยให้นิ้วมือวางประจ าอยู่ในต าแหน่งอักษรแป้นเหย้าเสมอ
       5. เมื่อเริ่มพิมพ์จงเคลื่อนนิ้วมือไปยังแป้นอักษรนั้นๆ เท่านั้น ไม่ต้องเคลื่อนข้อมือ ข้อศอก หรือ
แขนตามไปด้วย
       6. ตาต้องมองอยู่ที่แบบฝึกพิมพ์เสมอ
       7. การฝึกพิมพ์ต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และให้ได้จังหวะอย่างสม่ำเสมอ
       8. ควรควบคุมจิตใจให้อยู่กับแบบฝึกพิมพ์
การนั่งที่ถูกวิธี
        การนั่งพิมพ์ดีดที่ถูกวิธี ทำให้นักเรียนสามารถพิมพ์ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ โดยมีความ
เหนื่อยและความเมื่อยล้าน้อยที่สุด นอกจากนั้นยังสามารถเคลื่อนไหวนิ้วได้อย่างคล่องแคล่ว
 ท่านั่งที่ถูกวิธีเป็นส่วนสำคัญที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ฝึกพิมพ์สัมผัส เพราะถ้าหากว่านักเรียนเคยชิน
กับการทรงตัวนั่งพิมพ์ที่ผิดแบบ โดยใช้วิธีหนึ่งวิธีใดก็ตามจนติดเป็นนิสัยแล้วย่อมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก
        นอกจากนี้การที่นักเรียนนั่งท่านั่งที่ผิดวิธียังให้โทษต่อร่างกาย คือจะก่อให้เกิดอาการปวดหลัง เมื่อย
ตามกล้ามเนื้อ เมื่อยตามตัว เมื่อยคอ เป็นต้น

 ลักษณะท่านั่งที่ถูกวิธี
       1. นั่งตัวตรงเต็มเก้าอี้ นั่งสบายๆ สะโพกชิดพนักหลังของเก้าอี้ ตัวไม่เกร็ง และเอนลำตัวไป
ข้างหน้าเล็กน้อย ลำตัวอยู่ห่างจากเครื่องพิมพ์ประมาณ 1 คืบ หรือประมาณ 6-7 นิ้ว เพื่อช่วย
ให้การทรงตัวดีขึ้น การเคลื่อนไหวสะดวกขึ้น และทำให้มีสมาธิมากขึ้น
       2. ปล่อยแขนทั้งสองข้างลงให้แนบขนานกับลำตัวตามสบาย อย่าเกร็งไหล่ ไม่กางข้อศอกหรือหนีบ
แขนชิดลำตัว ข้อศอกกับข้อมือพยายามให้เป็นเส้นตรง
       3. อย่านั่งหลังงอและควรนั่งให้สุภาพเรียบร้อย ไม่ควรนั่งถ่างขาหรือนั่งไข่ห้าง เพราะจะทำให้เสีย
บุคลิกและปวดหลัง
      4. เท้าทั้งสองข้างวางราบกับพื้น โดยให้ข้างหนึ่งเยื้องไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อช่วยให้น้ำหนักตัวลง


เรื่องความรู้เบื้องต้นในการพิมพ์ดีด (พิมพ์สัมผัสด้วยคอมพิวเตอร์)

           สำหรับการวางนิ้ว การสืบนิ้ว การเคาะแป้นวรรค การยกแคร่ การย่อหน้าใหม่ การขึ้นบรรทัดใหม่
การลบคำผิด และสลับภาษา สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่นักเรียนจะมองข้ามไปไม่ได้เป็นอันขาด เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญมากในการฝึกพิมพ์ โดยมีวิธีการปฏิบัติที่ถูกวิธีและแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้

การวางนิ้ว
            การวางนิ้วเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติให้ถูกวิธีตั้งแต่แรก ต าแหน่งของนิ้วมือทั้งสองข้าง ยกเว้น นิ้วหัวแม่มือให้วางอยู่บนแป้นอักษรแถวที่ 2 นับจากอักษรแถวล่างขึ้นไป หรือที่เรียกว่า “แป้นเหย้า” เวลาพิมพ์ให้งอนิ้วทุกๆนิ้วไว้เสมอ ให้ปลายนิ้วส่วนที่อยู่ใกล้เล็บเคาะแป้นอักษร
ดังนั้น ผู้ฝึกพิมพ์สัมผัสจึงไม่ควรไว้เล็บมือยาว เพราะจะทำให้ไม่สะดวกต่อการพิมพ์ ผู้ที่ฝึกพิมพ์ควร
ตั้งใจฝึกพิมพ์ให้รู้ตำแหน่งของนิ้วทุกตัวอักษร และสำหรับนิ้วหัวแม่มือทั้งสองให้วางอยู่บนคานเว้นวรรค
เพราะการเคาะคานเว้นวรรคจะใช้เฉพาะแต่นิ้วหัวแม่มือเท่านั้น ซึ่งมีวิธีการวางนิ้วมีดังนี้
1. นิ้วทั้งหมดวางประจำอยู่บนอักษรแป้นเหย้าเสมอ
2. ปลายนิ้วมืองุ้มลงให้ส่วนที่เป็นเนื้อกับปลายเล็บวางบนแป้นอักษร
3. นิ้วมือทุกๆ นิ้วต้องโค้งงอ เพื่อจะได้ใช้นิ้วเคาะแป้นอักษรได้สะดวก
4. ข้อมือจะต้องโหย่งตลอดเวลา ห้ามปล่อยวางราบหรือพักมือไว้บนแป้นพิมพ์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การวางนิ้ว พิมพ์ดีด

การสืบนิ้ว

            ให้วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่อักษรแป้นเหย้า การสืบนิ้วไปยังแป้นอักษรต่างๆ ขอให้นักเรียนสืบแต่เพียงนิ้วนั้นไปยังศูนย์กลางของแป้นอักษรต่างๆเท่านั้น อย่าเคลื่อนมือหรือแป้นอักษรต่างๆ ตามไปด้วย แล้วเมื่อสืบนิ้วแล้วให้ชักนิ้วกลับมายังแป้นเหย้าเสมอ การสืบนิ้วให้ฝึกทำเช่นนี้โดยทำซ้ำกันหลายๆครั้ง และสลับกันขนคล่องแคล่วจนเกิดความชำนาญ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสืบนิ้ว พิมพ์ดีด


การยกแคร่
             นักเรียนจะต้องสร้างทักษะในการกดปุ่มยกแคร่ ได้แก่ ปุ่ม <Shift> หากนักเรียนใช้นิ้วมือขวาในการพิมพ์ ให้ใช้นิ้วก้อยซ้ายกดแป้นยกแคร่ และเมื่อนักเรียนใช้นิ้วมือซ้ายในการพิมพ์ ให้ใช้นิ้วก้อยขวากดแป้นยกแคร่แทน


การเคาะแป้นเว้นวรรค
แป้นเว้นวรรคเป็นแป้นยาวอยู่ใต้แป้นอักษรอยู่ล่างสุด ใช้ส าหรับเคาะเมื่อจะท าการเว้นวรรค ใช้
นิ้วหัวแม่มือเคาะเท่านั้น โดยเคาะที่ปุ่ม (Spacebar) มีวิธีการปฏิบัติคือ
1. นิ้วทุกนิ้วยกเว้นนิ้วหัวแม่มือจะต้องวางประจ าอยู่บนอักษรแป้นเหย้าเสมอ
2. การฝึกเคาะเว้นวรรคควรฝึกใช้ทั้ง 2 นิ้วหัวแม่มือเคาะ เพื่อความสะดวกในการผลัดกันท างานของ
ทั้ง 2 นิ้ว
3. ระวังอย่าให้ข้อมือห้อยต่ าจนสัมผัสกับแป้นพิมพ์ รักษาระดับให้อยู่ในแนวเดียวกันกับหลังมือ
4. การพิมพ์และเว้นวรรคให้เคาะจังหวะสลับกัน อย่าพิมพ์และเคาะคานเว้นวรรคไปพร้อมกัน
5. ข้อศอกและแขนไม่เคลื่อนไหวขณะที่นั่งท างาน
6. ข้อมือให้อยู่กับที่โดยจะเคลื่อนไหวน้อยที่สุด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การวางนิ้ว ยกแคร่ พิมพ์ดีดไทย

การย่อหน้าใหม่
             ใช้สำหรับกั้นหน้ากั้นหลังในการพิมพ์แต่ละครั้ง ปุ่มที่ใช้ในการย่อหน้าใหม่ ได้แก่ ปุ่ม <Tab> ซึ่งเป็นการเลื่อนตัวอักษรต่างๆ บนหน้าจอโปรแกรมไปตามระยะที่เราต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของรูปแบบเอกสารที่จะพิมพ์ด้วยการขึ้นบรรทัดใหม่ ปุ่ม <Enter> จะเริ่มใช้งานก็ต่อเมื่อพิมพ์หมดบรรทัดนั้นๆ แล้วผู้ฝึกพิมพ์ต้องการจะขึ้นบรรทัดใหม่หรือตกลงสั่งงาน โดยทั่วไปแล้วปุ่ม <Enter> จะเป็นตัวสั่งให้เลื่อนไปยังอีกบรรทัดถัดไป หรือย้ำความต้องการเวลาเข้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์

การลบคำผิด
           นักเรียนสามารถเลือกลบคำผิดได้ 2 ปุ่ม ได้แก่ปุ่ม <Delete> หรือ <Backspace> การเข้าใช้งานของทั้ง 2 ปุ่มนี้มีหน้าที่ในการลบคำผิดที่แตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการคือ ปุ่ม <Delete> ใช้ลบค าผิดหรือตัวอักษรที่เราพิมพ์แล้วแต่เราไม่ต้องการ โดยลบคำผิดที่อยู่ข้างหลัง <Cursor> ส าหรับปุ่ม <Backspace> ใช้ลบคำผิดหรือตัวอักษรที่อยู่ข้างหน้า <Cursor>

การสลับภาษา
            ในการพิมพ์แต่ละครั้งนักเรียนจะพบประโยคที่มีตัวอักษรผสมกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่ง อาจจะเป็นเรื่องที่แปลกใหม่สำหรับนักเรียนที่เพิ่งเริ่มหัดพิมพ์ แต่คงไม่ใช่ปัญหามากนักเพราะมีปุ่มที่ช่วยให้เราสามารถเปลี่ยนภาษาได้ง่ายๆ ได้แก่ปุ่ม <~> มีหน้าที่สลับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกติดตั้งการสลับภาษาของปุ่ม <~> มาพร้อมใช้งานแล้วนิ้วก้อยเป็นปัญหาใน

การพิมพ์ดีดจริงหรือไม่
ในบรรดานิ้วต่างๆ “นิ้วก้อย” เป็นนิ้วที่อ่อนแอที่สุด ฉะนั้นผู้ฝึกพิมพ์จึงควรเตรียมความพร้อมก่อนที่
จะเริ่มฝึกพิมพ์จริง วิธีการฝึกนิ้วก้อยให้แข็งแรงทำได้ง่ายๆ คือ ให้ผู้ฝึกพิมพ์ออกกำลังกายนิ้วมือ โดยให้
เคลื่อนไหวนิ้วมือขึ้นลงเหมือนกับการพิมพ์จริง หรืออีกวิธีคือ ฝึกความยืดหยุ่นของนิ้วด้วยวิธีการกำมือเข้าออกหลายๆ ครั้งก่อนลงมือพิมพ์จริง เพียงแค่ผู้ฝึกพิมพ์ออกกำลังกายนิ้วมืออยู่เป็นประจำนิ้วที่อ่อนแอที่สุดอย่าง “นิ้วก้อย” ก็จะมีโอกาสแข็งแกร่งขึ้นและจะเป็นการฝึกทักษะให้กับนิ้วก้อยด้วย และนิ้วก้อยก็จะไม่ใช่

ปัญหาในการพิมพ์อีกต่อไป
            การวางกระดาษต้นฉบับที่จะพิมพ์หรือการวางแบบฝึกพิมพ์ต้นฉบับหรือแบบฝึกพิมพ์ต้องวางทางด้านขวามือของนักเรียนเสมอ โดยอยู่ในระดับสายตา ตาจะต้องมองอยู่ที่ต้นฉบับหรือแบบฝึกพิมพ์เท่านั้น ห้ามมองแป้นตัวอักษรหรือส่วนอื่นๆของแป้นพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับอุปกรณ์การเรียนหรืออุปกรณ์อื่นๆ เช่น ยางลบ ไม้บรรทัด ให้วางไว้ทางด้านซ้ายมือของเครื่องคอมพิวเตอร์

วิธีการลดความเมื่อยล้าในระหว่างการพิมพ์
           เมื่อนักเรียนฝึกพิมพ์เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน อวัยวะต่างๆตามร่างกายจะเกิดความเมื่อยล้าขึ้น
ดังนั้นจึงมีวิธีการง่ายๆ ที่จะช่วยให้นักเรียนผ่อนคลายความตึงเครียดและลดความเมื่อยล้าในการพิมพ์ลง ดังนี้
           1. ควรปล่อยแขนและไหล่โดยยืดอกตรงๆ
           2. นิ้วมือควรก าข้อมือเข้าแล้วยืดออกเป็นระยะๆ
           3. เมื่อฝึกพิมพ์ไปนานๆ ควรจะหยุดพักสักครู่ โดยยืนขึ้น เดินไปเดินมาหรือออกไปจากห้องเดินไปยังที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
           4. เมื่อฝึกพิมพ์ไปนานๆอาจจะทำให้แสบตา ตามัว หรือมีอาการปวดหัวร่วมด้วย ฉะนั้นจึงควร
กระพริบตาบ่อยๆในขณะที่พิมพ์ หรือพักสายตาเป็นระยะๆ โดยการมองไปรอบๆ หรือมองทิวทัศน์อื่นโดย
วิธีการง่ายๆ เพียงเท่านี้นักเรียนก็จะรู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียดและอาการเมื่อยล้าลงไปได





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น